ลมหนาวเริ่มพัดมาแล้ว อากาศเริ่มเย็นลงทุกวัน แต่ปีนี้หน้าหนาวมาช้ากว่าปีก่อนๆ อาจจะมีอิทธิพลมาจากธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง หากคิดถึงลมหนาวแล้วกลับนึกถึงงานการติดตั้งระบบพลังงาน ระบบหนึ่งซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าจากลม..... นั่นคือกังหันลมผลิตไฟฟ้า เอ็นจินีโอมีผลงานการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้า มากมาย...แต่ละงานก็มีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างงานนี้ก็เช่นเดียวกัน ทางทีมเอ็นจินีโอได้เดินทางไปติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงนลม โดยมีวัตถุประสงค์คือนำไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานลมมาใช้กับหลอดไฟที่ส่องสว่างอยู่ตลอดแนวรั้วตามสันเขื่อนของบ้านพักหรูท่านหนึ่งที่มีชื่อเสียงในจังหวัดสมุทรปราการ ทางเราเห็นว่าเป็นระบบที่มีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจด้านพลังงานทดแทน จึงขออนุญาตินำมาเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจในเวปไซด์แห่งนี้
เริ่มจากความต้องการของลูกค้านอกจากจะใช้ไฟฟ้าจากพลังงานลมที่สะอาดแล้ว ยังอยากให้เกิดความสวยงาม และเสริมฮวงจุ้ยไปในตัว ทางเราจึงเสนอเป็นกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์จำนวน 3 ตัวติดตั้งเรียงกัน เมื่อเวลากังหันลมหมุนพร้อมกันจะสวยงามมาก เมื่อตกลงดังนี้เราจึงสำรวจหน้างาน พบว่าเป็นทางเดินคอนกรีต พร้อมทั้งทำหน้าที่กันน้ำจากแม่น้ำด้วย

สำรวจพื้นที่ ที่จะทำการติดตั้งกังหันลม มีลักษณะเป็นทางเดิน และเขื่อนกั้นน้ำจากแม่น้ำ
เมื่อวัดระยะได้ที่แล้วจึงเริ่มลงมือเจาะเพื่อทำฐานราก
แบบเหล็กสำหรับเชื่อมยึดกับเหล็กโครงสร้าง

เมื่อเจาะเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปคือเชื่อมชุดน็อตยึดกับเหล็กโครงสร้าง
เมื่อทำการเชื่อมยึดเสร็จแล้ว จึงเทปูนให้กลับอยู่ในสภาพเดิม

ขั้นตอนต่อไปคือเจาะปูนเพื่อฝังท่อสายไฟฟ้าที่ผลิตจากกังหันลมไปยังตู้ควบคุมการทำงาน

เมื่อฐานรากเสร็จ จึงนำกังหันลมตัวแรกขึ้นตั้ง โดยขนาดเสากังหันลมมีขนาด 8 นิ้ว และ 4 นิ้ว หนา 4 มิลลิเมตร เสาสูงรวม 9 เมตร

ปัญหาคือการตั้งเสากังหันลมชุด ที่ 2 และ ชุดที่ 3 เนื่องจากไม่สามารถใช้รถยกได้ จึงต้องตั้งนั่งร้าน (หนักมากๆๆๆๆ)
เสร็จไป 2 ชุดแล้วคงเหลืออีกหนึงชุด
แล้วชุดที่ 3 ก็สำเร็จ หมุนดีจริงๆ ก็ใกล้กับแม่น้ำแบบนี้นี่

เมื่อติดตั้งกังหันลมเสร็จแล้วดูกลมกลืนกับธรรมชาติดี มีสีสรร ใครผ่านไปมาทั้งรถและเรือ ก็อดที่จะหันมามองไม่ได้
ขั้นตอนต่อไปคือการติดตั้งระบบและตู้ควบคุมให้กับกังหันลม
สายไฟจากกังหันลมเดินอยู่ในท่อเดินตามแนวพื้นด้านนอกของทางเดิน

ตรวจสอบเก็บความเรียบร้อยอีกครั้งเมื่อติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าเสร็จแล้ว

เก็บรายละเอียดสายไฟ โดยทำการเจาะปูนฝังท่อและเทปูนปิดทับ

ภายในตู้ควบคุม มีชุดเบรคกังหันลม และฟิวส์ป้องกัน พร้อมมิเตอร์แบบเข็มแสดงแรงดันของไฟฟ้า
ภายในตู้บุด้วยฉนวนกันความร้อน และวางแบตเตอรี่อย่างเรียบร้อย

ติดตั้งตู้ ออโตทรานเฟอร์สวิทย์ (ATS) ใช้สำหรับกรณีไฟฟ้าที่ผลิตจากกังหันลมไม่พอ สามารถใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าได้โดยอัตโนมัติ และเมื่อการผลิตไฟฟ้าเป็นปรกติระบบจะกลับมาใช้ไฟฟ้าจากกังกันลมได้จามปรกติ

หลอดไฟติดสว่างด้วยพลังงานลม.........พลังงานสะอาด
ความสวยงามที่ลงตัว ระดับมืออาชีพจากพวกเรา...........เอ็นจินีโอ
เอ็นจินีโอ มุ่งเน้นคุณภาพงาน ออกแบบและติดตั้งเพื่อให้ได้สิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด เราใส่ใจทุกรายละเอียด ดูแลท่านให้สมกับที่ท่านไว้ใจเรา
เอ็นจินีโอของขอบคุณ คุณลูกค้าผู้มีอุปการคุณเอ็นจินีโอ มา ณ โอกาสนี้